หน้าที่นายจ้างในกิจการที่ทางการให้เปิดดำเนินการ 1 มิ.ย. 65
เป็นเวลากว่า 2 ปีที่ทางการสั่งปิดอาจถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างมาทำงานได้
และลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างแต่ก็ไม่ได้ทำให้สัญญาจ้างระงับหรือสิ้นสุดลง เพียงแต่นายจ้างไม่ต้องส่งมอบงาน และจ่ายค่าจ้างให้ และลูกจ้างก็ไม่ต้องมาทำงาน ทั้งไม่อาจเรียกค่าจ้างจากนายจ้างได้ แต่อาจได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงานจากประกันสังคม
แต่เมื่อทางการให้เปิดกิจการตั้งแต่ 1 มิ.ย. 2565 นายจ้างต้องเรียกลูกจ้างให้มาทำงานตามสัญญาจ้าง
หากนายจ้างไม่เปิดกิจการทั้งที่ทางการให้เปิด และมีเหตุความจำเป็นอื่นใด ก็อาจใช้สิทธิหยุดกิจการชั่วคราว ตาม ม.75 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ได้
หากไม่เปิดทำการ หรือปิดกิจการไปถาวร ไม่ให้ลูกจ้างมาทำงานก็อาจเป็นการเลิกจ้างตาม ม.118 ว 2 นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง
ลูกจ้างเองก็อาจต้องแจ้งนายจ้างว่าจะไปทำงานตามที่นายจ้างเรียก หากไม่ไป อาจเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้
อนึ่ง หากนายจ้างเพิกเฉยไม่เปิดกิจการ และลูกจ้างเองก็เพิกเฉย ไม่เเจ้งนายจ้างว่าประสงค์จะทำงาน ก็อาจถือว่าทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกสัญญาจ้างโดยปริยายซึ่งไม่ถือว่านายจ้างเลิกจ้างหรือลูกจ้างลาออก
Facebook : Narongrit Wannaso
นายจ้างทำการจ้างลูกจ้างฝ่าฝืนกฎหมายห้ามต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้าม
แล้วต่อมานายจ้างค้างจ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างนำคดีมาฟ้องศาลให้มีคำพิพากษาให้นายจ้างจ่าย ศาลไทยจะบังคับให้ตามสัญญาจ้างหรือไม่ ?
คำตอบ : ศาลฎีกาเคยตัดสินว่าสัญญาจ้างเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.ม.150 จึงไม่อาจฟ้องบังคับตามสัญญาได้
ดูฎีกาที่ 1809/2557
อนึ่ง : หากนายจ้างจ่ายค่าจ้างไปแล้วก็เรียกคืนไม่ได้เช่นกันตาม ป.พ.พ.411
Facebook : Narongrit Wannaso
📚 เกร็ดความรู้คู่แรงงาน ตอนที่ 39
ลูกจ้างลาออกก่อนที่นายจ้างจะสอบสวนความผิดแล้วเสร็จเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเลิกจ้างเนื่องจากการกระทำความผิด กรณีนี้ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์เมื่อออกจากงานตามระเบียบข้อบังคับหรือไม่ ?
⚖️ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2558
ข้อบังคับระบุไว้ชัดเจนว่า พนักงานที่จะได้รับเงินผลประโยชน์เมื่อออกจากงานจะต้องไม่เป็นพนักงานซึ่งลาออกเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเลิกจ้างเนื่องจากการกระทำความผิดตามระเบียบข้อบังคับ ก่อนลูกจ้างจะลาออก
นายจ้างได้สอบสวนความผิดลูกจ้าง แต่ลูกจ้างชิงยื่นใบลาออกก่อนการสอบสวนจะแล้วเสร็จ เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะถูกเลิกจ้างในความผิดที่ลูกจ้างได้กระทำ ถือว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์เมื่อออกจากงานตามระเบียบข้อบังคับ