ระหว่างการลาคลอดบุตร มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี และวันหยุดประจำสัปดาห์หรือไม่ ?
กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดได้ 98 วัน โดยได้ค่าจ้าง 45 วัน และจากประกันสังคมอีก 45 วัน
ปกติการลา จะต้อง "ลาเฉพาะวันทำงาน" วันหยุดไม่ต้องลา เพราะไม่ลาก็มีสิทธิหยุด แต่หลักการนี้ไม่นำไปใช้ในกรณีวันลาคลอดด้วย
เพราะมาตรา 41 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ กำหนดให้นับรวมวันหยุดในระหว่างวันลาคลอดนั้นด้วย
ดังนั้น หากมีวันหยุดทั้ง 3 กรณี คือ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ระหว่างวันลาเพื่อการคลอดบุตรต้องนับรวมเข้าไปในวันลาคลอด 98 วันด้วย
ดังนั้น บริษัทนายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดระหว่างวันลาคลอด
Facebook : กฎหมายแรงงาน
ตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ ...
1. ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
2. ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
3. ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝุายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
4. เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
5. เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม
มีประเด็นสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อปรึกษาหรือร้องทุกข์ได้ที่ช่องทาง ดังต่อไปนี้
1) สายด่วน 1546
2) สายด่วน 1506 กด 3 หรือ
3) สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/กรุงเทพ ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์จากเว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน www.labour.go.th (เมนู ติดต่อกรม) เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ท่านทำงานหรืออาศัยอยู่ให้คำปรึกษาช่วยเหลือ หรือยื่นคำร้องผ่านระบบออนไลน์ ที่ https://eservice.labour.go.th
ทำสัญญาปีต่อปี เลิกจ้างได้ค่าชดเชยหรือไม่ ?
การทำสัญญาปีต่อปี เมื่อสัญญาสิ้นสุดถือเป็นการเลิกจ้าง เมื่อเป็นการเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ค่าชดเชย คือเงินที่จ่ายตอนเลิกจ้าง ส่วนคำว่าเลิกจ้างคืออะไรนั้น มาตรา 118 ได้เขียนอธิบายความหมายเอาไว้จับใจความสำคัญได้ คือ การเลิกจ้างจะต้องเป็นการกระทำหรือเหตุจากฝ่ายนายจ้างที่ไม่ให้ลูกจ้างทำงาน และไม่จ่ายค่าจ้าง
ซึ่งกรณีเลิกจ้างยังรวมถึงการที่มีการทำสัญญากำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการจ้างกันไว้แน่นอน เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุด ก็ต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างด้วย นายจ้างจะอ้างว่าไม่ได้บอกเลิกสัญญาจ้างไม่ได้ เพราะกรณีนี้ถือว่านายจ้างได้บอกเลิกจ้างเอาไว้ตั้งแต่วันเซ็นต์สัญญาจ้างแล้ว เพราะในวันนั้นได้บอกถึงว่าที่จะเลิกจ้างเอาไว้ในสัญญาด้วยแล้ว
ดังนั้นเมื่อมีการเลิกจ้าง จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
คดีนี้นายจ้างทำสัญญาจ้างเป็นวิศวกรควบคุมงานก่อสร้างโครงการ 2 ฉบับ
ฉบับแรก เริ่มงานวันที่ 1 ตค. 2554 - 30 กย. 2555
ฉบับที่สอง เริ่มงานวันที่ 26 สค. 2555 - 25 สค. 2556
โดยเมื่อครบกำหนดแล้วนายจ้างไม่ได้จ้างทำงานต่อ กรณีดังกล่าวถือว่านายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้เพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้าง ถือว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ตามความหมายในมาตรา 118 วรรคสองแล้ว
ข้อเท็จจริงปรากฎว่าในสัญญาจ้างทั้ง 2 ฉบับเป็นการจ้างให้ทำงานในโครงการที่แตกต่างกัน แต่สัญญาทั้ง 2 ฉบับมีลักษะเดียวกันและมีความต่อเนื่องเกี่ยวพันกัน จึงถือได้ว่าลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้างต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 ปีแต่ไม่เกิน 3 ปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
ข้อสังเกต
1) แม้สัญญาจะแยกเป็น 2 ฉบับ แต่กฎหมายมาตรา 20 ให้นำเอาระยะเวลาทุกฉบับมาต่อกัน
2) คดีนี้นายจ้างยังต่อสู้ประเด็นที่ว่าเป็นงานตามโครงการตามมาตรา 118 วรรคสาม ถึงวรรคท้าย ซึ่งถือเป็นงานตามโครงการจะเป็นข้อยกเว้นไม่จ่ายค่าชดเชย แต่คำว่างานตามโครงการนั้น จะต้อง "มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดแน่นอน และมีการเลิกจ้างตามนั้น" แต่คดีนี้ เมื่อครบ 1 ปีตามสัญญาฉบับแรกแล้วยังคงมีการทำงานกันต่อไป จึงไม่ถือว่ามีการเลิกจ้างตามที่ตกลงกัน
3) นอกจากนั้น ผู้เขียนเห็นว่า กฎหมายใช้คำว่า "งานตามโครงการซึ่งไม่ใช่ปกติธุรกิจ หรือการค้าของนายจ้าง" ส่วนนี้ทำให้เข้าใจผิดกันจำนวนมากว่าเมื่อนายจ้างให้ไปทำงานในโครงการก่อสร้างถนน หรือโครงการที่ไปรับจ้างจะทำให้งานนั้นเป็นงานตามโครงการ ซึ่งเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ที่ถูกต้องคือต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่างานตามโครงการนั้น "ต้องไม่ใช่ปกติธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างด้วย" หมายความว่านายจ้างอาจไปร่วมทำโครงการอื่น เช่น ปกตินายจ้างทำกิจการก่อสร้าง ต่อมาได้ไปร่วมกับบริษัทด้านปิโตเคมี ทำโครงการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน เช่นนี้ย่อมถือว่าการไปทำโครงการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันไม่ใช่ปกติธุรกิจของนายจ้างได้
Facebook : กฎหมายแรงงาน