c116d07b7952fe45f37257d20a99b319.jpg

7381648
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1808
2073
1808
7355110
26538
151044
7381648

Your IP: 192.168.2.69
2024-12-08 20:27

BT Content Slider

สิทธิลากิจธุระอันจำเป็นตามกฎหมายใหม่

Post on 09 เมษายน 2562
by Area3
ฮิต: 139097

สิทธิลากิจธุระอันจำเป็นตามกฎหมายใหม่

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เดิม มิได้กำหนดสิทธิวันลากิจธุระอันจำเป็นขั้นต่ำ และไม่ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาไว้ในกฎหมาย สุดแต่ว่านายจ้างจะไปกำหนดหรือตกลงกับลูกจ้าง แน่นอนมีลูกจ้างน้อยรายจะไปกำหนด หรือตกลงต่อรองกับนายจ้างให้มีสิทธิลาหลายๆวันต่อปี และได้รับค่าจ้างด้วย โดยเฉพาะลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างทดลองงาน

กฎหมายใหม่ กำหนดให้มีสิทธิลาได้ โดยได้รับค่าจ้างอย่างน้อย 3 วันทำงานต่อปี

ส่วนอะไรคือ กิจธุระจำเป็น ที่ลูกจ้างจะใช้สิทธิลาได้ เป็นคำในกฎหมายเดิม ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด

ส่วนวิธีการลากิจ ขั้นตอนการลา วิธีปฎิบัติในการลา ใครมีอำนาจให้ลากิจ การลากิจไม่ชอบ จะเป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามที่นายจ้าง ลูกจ้างตกลงกัน บางกรณีก็อาจนำเเนวที่ศาลฎีกาเคยตัดสินมาเป็นแนวก็ได้

ที่มาตรา 57/1 ระบุให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่เกิน 3 วันเป็นรูปแบบการร่างหรือเขียนกฎหมาย (เช่นเดียวกับค่าจ้างในวันลาป่วย ลารับราชการทหาร ลาคลอด ในม.57 ม. 58 และ 59) มิได้หมายความว่า นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างฝนวันลากิจธุระอันจำเป็นเกิน 3 วันมิได้ เนื่องจากการตกลงจ่ายค่าจ้างในวันลากิจเกิน 3 วันทำงานต่อปี ไม่ผิดกฎหมาย

ที่มาตรา 57/1 เขียนแบบนั้นก็หมายถึง หากนายจ้างให้สิทธิลากิจโดยได้รับค่าจ้างเพียง 3 วันต่อปี นายจ้างก็จ่ายค่าจ้างในวันลากิจไม่เกิน 3 วัน นั่นเอง จะไปเขียนกฎหมายให้จ่ายไม่น้อยกว่า 3 วัน มันก็ขัดกันอยู่ในตัว จึงต้องเขียนว่าให้จ่ายไม่เกิน 3 วัน

กฎหมายบางอย่างมันก็เข้าใจยากจริงๆ

 

Facebook : Narongrit Wannaso