ลูกจ้างรับค่าตอบแทนหรือเงินช่วยเหลือจากนายจ้างไปแล้ว จึงไปตั้งเรื่องฟ้องนายจ้างอ้างว่าถูกเลิกจ้างให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชย หรือค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ก็จะฟัองไม่ได้ หรือฟ้องไปศาลก็จะยกฟ้อง
นายจ้างสามารถเรียกเก็บหลักประกันความเสียหายจากลูกจ้างตามประเภทของงาน หน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามประเภทงานในบริษัทฯ ได้หรือไม่ ?
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๐ กำหนดห้ามนายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ซึ่งเป็นการวางหลักอันเป็นการทั่วไป ไม่ได้ห้ามนายจ้างนายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันฯอย่างเด็ดขาดในทุกกรณี แต่ได้เปิดช่องว่างไว้ว่าบางกรณีนายจ้างยังมีสิทธิเรียกหรือรับหลักประกันได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ดังนั้น นายจ้างจะเรียกหรือรับหลักประกันฯได้ จะต้องเป็นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามข้อ ๔ (๑) - (๗) และได้มอบหมายให้ลูกจ้างมีหน้าที่กระทำโดยกำหนดไว้ในคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ให้ชัดเจนว่า ลักษณะหรือสภาพของงานเป็นอย่างไร นายจ้างจึงสามารถหรือรับหลักประกันฯ จากลูกจ้างได้ ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองลูกจ้างมีให้ต้องเดือดร้อนในการหาเงินสด ทรัพย์สิน หรือบุคคลมาค้ำประกันโดยไม่จำเป็น จึงกำหนดให้นายจ้างสามารถเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานของลูกจ้างได้ฉพาะกรณีที่ลูกจ้างมีลักษณะและสภาพของงานที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้างเท่านั้น
ข้อหารือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ รง ๑๕o๔/o๑๙๒๕
ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๗