สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติ
    • ตราสัญลักษณ์
    • โครงสร้างองค์กร
    • บุคลากร
  • E-Service
  • ดาวน์โหลด
  • ติดต่อเรา

Main menu

Main Menu

  • หน้าหลัก
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง
  • แผนงาน โครงการ
  • ข้อมูลวิชาการ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

MOL Menu

  • กระทรวงแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์

ลูกจ้างทดลองงานกฎหมายคุ้มครองเหมือนลูกจ้างทั่วไป ...
ลูกจ้างทดลองงานกฎหมายคุ้มครองเหมือนลูกจ้างทั่วไป ...

Read more

ในคดีแรงงานที่นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างฐานทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน เช่น ลาออกก่อนกำหนดเวลาที่ตกลงกัน
ในคดีแรงงานที่นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างฐานทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน เช่น ลาออกก่อนกำหนดเวลาที่ตกลงกัน

Read more

นายจ้างอ้างเหตุในการเลิกจ้างเพราะลูกจ้างละเลยต่อหน้าที่ ขาดความรับผิดชอบ ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ?
นายจ้างอ้างเหตุในการเลิกจ้างเพราะลูกจ้างละเลยต่อหน้าที่ ขาดความรับผิดชอบ ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ?

Read more

ผลของการตกลงผ่อนค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง
ผลของการตกลงผ่อนค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง

Read more

สรพ. 3 ขอเชิญชวนนายจ้าง สถานประกอบกิจการ ลูกจ้าง ร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
สรพ. 3 ขอเชิญชวนนายจ้าง สถานประกอบกิจการ ลูกจ้าง ร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

Read more

นายจ้างได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และในบางกรณีทางการมีคำสั่งให้ปิดสถานที่ปิดกิจการลง จนต้องปิดกิจการลงชั่วคราวในชั้นต้น ...
นายจ้างได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และในบางกรณีทางการมีคำสั่งให้ปิดสถานที่ปิดกิจการลง จนต้องปิดกิจการลงชั่วคราวในชั้นต้น ...

Read more

ประกันสังคม ย้ำขั้นตอนนายจ้าง ผู้ประกันตน ยื่นขอรับประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย จากผลกระทบโควิด-19
ประกันสังคม ย้ำขั้นตอนนายจ้าง ผู้ประกันตน ยื่นขอรับประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย จากผลกระทบโควิด-19

Read more

การระบาดโควิด 19 ระลอกใหม่ กับค่าทดแทนการว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยโควิด 19 ตามกฎกระทรวงฉบับใหม่
การระบาดโควิด 19 ระลอกใหม่ กับค่าทดแทนการว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยโควิด 19 ตามกฎกระทรวงฉบับใหม่

Read more

ถามว่า : การประกาศวันหยุดตามประเพณีมีหลักเกณฑ์อย่างไร และเมื่อประกาศแล้วนายจ้างจะตกลงกับลูกจ้างให้หยุดวันอื่นชดเชยได้ หรือไม่ เพียงใด ?
ถามว่า : การประกาศวันหยุดตามประเพณีมีหลักเกณฑ์อย่างไร และเมื่อประกาศแล้วนายจ้างจะตกลงกับลูกจ้างให้หยุดวันอื่นชดเชยได้ หรือไม่ เพียงใด ?

Read more

กสร. ออกประกาศขอความร่วมมือนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในช่วงเทศกาลวันปีใหม่
กสร. ออกประกาศขอความร่วมมือนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในช่วงเทศกาลวันปีใหม่

Read more

ประกาศ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แนวทางในการเฝ้าระวัง การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid -19) ในสถานประกอบกิจการ
ประกาศ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แนวทางในการเฝ้าระวัง การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid -19)...

Read more

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน มอบของขวัญปีใหม่ 2564 เพื่อผู้ประกันตน
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน มอบของขวัญปีใหม่ 2564 เพื่อผู้ประกันตน

Read more

ลูกจ้างทดลองงานกฎหมายคุ้มครองเหมือนลูกจ้างทั่วไป ...

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 20 มกราคม 2564
ฮิต: 65

ลูกจ้างทดลองงานกฎหมายคุ้มครองเหมือนลูกจ้างทั่วไป ...


สัญญาทดลองงานเขียนว่า “ในการทดลองงานนายจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ โดยไม่ต้องแจ้งเหตุผลของการเลิกจ้างและลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใดๆ” ผลเป็นอย่างไร ?


สัญญาที่เขียนด้วยข้อความข้างต้นเป็นข้อความที่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย โดยเฉพาะมาตรา ๑๗ วรรคสอง ที่กำหนดให้สัญญาทดลองงานซึ่งเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนจะต้องบอกกล่าวในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างเพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างในคราวถัดไป (ฎีกา ๖๗๙๖/๒๕๔๖)


เช่นนี้ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงานจะต้องบอกกล่าวด้วย หากไม่บอกกล่าวหรือบอกกล่าวไม่ครบ ๑ รอบการจ่ายค่าจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า


ข้อสังเกต
นอกจากนี้สิทธิต่างๆ ของลูกจ้างทดลองงานในการใช้สิทธิวันหยุด วันลา มีสิทธิเหมือนลูกจ้างทั่วไปทุกประการ เว้นแต่กรณีวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่กำหนดให้ต้องทำงานครบ ๑ ปีก่อนจึงจะมีสิทธิได้




FB : กฎหมายแรงงาน

ในคดีแรงงานที่นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างฐานทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน เช่น ลาออกก่อนกำหนดเวลาที่ตกลงกัน

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 19 มกราคม 2564
ฮิต: 117

ในคดีแรงงานที่นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างฐานทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน เช่น ลาออกก่อนกำหนดเวลาที่ตกลงกัน

เช่นนี้ หากลูกจ้างไม่ไปศาลเลยหรือขาดนัดพิจารณา ศาลจะพิพากษาให้นายจ้างชนะคดีหรือตัดสินให้ลูกจ้างใช้ค่าเสียหายตามฟ้องได้ทันทีหรือไม่

คำตอบ : แม้ลูกจ้างหรือจำเลย จะไม่ได้ไปศาลในวันนัดพิจารณาก็ตาม แต่หากศาลแรงงานกำหนดให้นายจ้างมีภาระการพิสูจน์ สืบพยานหลักฐานแล้ว นายจ้างไม่สามารถพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่านายจ้างได้รับความเสียหายจากการทำผิดสัญญาของลูกจ้างแล้ว

กรณีนี้ ศาลก็ต้องยกฟ้อง เพราะไม่มีความเสียหายที่จะมากำหนดเป็นค่าเสียหายให้ลูกจ้างชำระแก่นายจ้าง

เช่นตามคำฟ้องตามฎีกาที่ 534/2560 ด้านล่างนี้

 




FB : Narongrit Wannaso

ผลของการตกลงผ่อนค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 12 มกราคม 2564
ฮิต: 247

ผลของการตกลงผ่อนค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง

แม้กฎหมายคุ้มครองแรงงานจะกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามสิทธิในกฎหมาย
โดยต้องจ่ายค่าชดเชยทันทีเมื่อเลิกจ้าง และต้องจ่ายทั้งจำนวนหรือทั้งหมดที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับตามกฎหมายก็ตาม

แต่นายจ้างบางรายก็อาจจะประสบปัญหาทางด้านการเงิน อีกทั้งจำนวนที่จ่ายอาจจะมีจำนวนมาก และจ่ายให้ลูกจ้างหลายๆคนพร้อมกัน จึงไม่อาจจะจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างทั้งหมดในคราวเดียวกัน
เช่นนี้ นายจ้างก็อาจจะตกลงจ่ายค่าชดเชยเป็นงวดๆ ให้กับลูกจ้าง หากลูกจ้างยินยอมก็สามารถทำได้ เพราะเป็นการตกลงเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่งเกี่ยวกับการรับค่าชดเชย
ทั้งมิใช่การตกลงระงับสิทธิในค่าชดเชยของลูกจ้างอย่างสิ้งเชิงอันจะขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด

และหากนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามที่ตกลงผ่อนชำระ ไม่ว่างวดหนึ่งงวดใด
ลูกจ้างก็สามารถฟ้องบังคับค่าชดเชยจากนายจ้างที่ศาลแรงงานต่อไปได้

ดูฎีกาที่ 15780/2555 ด้านล่าง และคำพิพากษาศาลชำนัญพิเศษที่ 1109/2561


FB : Narongrit Wannaso

 

นายจ้างอ้างเหตุในการเลิกจ้างเพราะลูกจ้างละเลยต่อหน้าที่ ขาดความรับผิดชอบ ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ?

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 14 มกราคม 2564
ฮิต: 219

นายจ้างอ้างเหตุในการเลิกจ้างเพราะลูกจ้างละเลยต่อหน้าที่ ขาดความรับผิดชอบ ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ

เช่นนี้ แม้ข้ออ้างในการเลิกจ้างดังกล่าวจะถือว่าลูกจ้างทำผิดระเบียบข้อบังคับของนายจ้างก็ตาม

แต่นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง(ที่มีอายุงานตั้งแต่ 120 วันขึ้นไป)

เพราะเหตุที่นำมาอ้างในการเลิกจ้างมิใช่กรณีที่ลูกจ้างทำความผิดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ

ดูฎีกาที่ 1254/2546



FB : Narongrit Wannaso

สรพ. 3 ขอเชิญชวนนายจ้าง สถานประกอบกิจการ ลูกจ้าง ร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 11 มกราคม 2564
ฮิต: 167

  • ก่อนหน้า
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10
  • ต่อไป
1841802
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
3594
4002
17842
1797588
72344
96336
1841802

Your IP: 192.168.2.69
2021-01-21 18:51
Visitors Counter