สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติ
    • ตราสัญลักษณ์
    • โครงสร้างองค์กร
    • บุคลากร
  • E-Service
  • ดาวน์โหลด
  • ติดต่อเรา

Main menu

Main Menu

  • หน้าหลัก
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง
  • แผนงาน โครงการ
  • ข้อมูลวิชาการ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

MOL Menu

  • กระทรวงแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

แรงงาน เตือนลดเสี่ยงเพลิงไหม้ ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนหยุดยาว พร้อมย้ำดูแลตัวเอง ลดเสี่ยงโควิด-19

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 09 เมษายน 2564
ฮิต: 58

              กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเตือนระวังเหตุเพลิงไหม้ในช่วงสงกรานต์ ขอความร่วมมือลูกจ้าง นายจ้าง และสถานประกอบกิจการเตรียมการป้องกันและตรวจสอบเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดก่อนหยุดยาว พร้อมย้ำสำหรับแรงงานที่เดินทางออกต่างจังหวัด ควรขับรถด้วยความระมัดระวังและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

             นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยในความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของลูกจ้าง นายจ้าง และสถานประกอบกิจการ ในช่วงวันหยุดยาวตั้งแต่วันที่ 10 - 15 เมษายน 2564 เนื่องในเทศกาลสงกรานต์โดยสถานประกอบกิจการส่วนใหญ่จะกำหนดให้เป็นวันหยุดยาวต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกจ้างได้กลับภูมิลำเนา หรือท่องเที่ยวต่างจังหวัดกับครอบครัว และร่วมกิจกรรมตามประเพณีนิยมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเกิดอัคคีภัย จึงได้ขอความร่วมมือนายจ้าง ลูกจ้าง ในสถานประกอบกิจการ ตรวจสอบเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ปลอดภัย หากพบว่าชำรุดต้องซ่อมแซมทันที รวมทั้งปิดเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า และระบบต่าง ๆ ที่ไม่ได้ทำงานให้เรียบร้อย นอกจากนี้สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิง สัญญาณแจ้งเหตุให้พร้อมสำหรับการใช้งานเพื่อจะได้ช่วยลดความเสียหายกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ได้

                อธิบดี กสร. กล่าวต่อว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยังห่วงถึงสวัสดิภาพของพี่น้องผู้ใช้แรงงานและนายจ้างที่เดินทางกลับภูมิลำเนา หรือเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขอให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง มีสติ ไม่ประมาท ทั้งคนขับและผู้โดยสารต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะเดินทาง และขอให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่แต่ละสถานประกอบกิจการขอความมืออย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการรับเชื้อหรือแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น โดยสวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง ล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดและไปในพื้นที่เสี่ยง ทั้งนี้ขออวยพรให้ประชาชนทุกท่านเดินทางโดยสวัสดิภาพ สุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะกลับปฏิบัติหน้าที่การงานต่อไป

 

ให้ลูกจ้างรายวันมาทำงานบางวัน วันไหนไม่มาก็ไม่จ่ายได้หรือไม่ ?

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 08 เมษายน 2564
ฮิต: 120

ให้ลูกจ้างรายวันมาทำงานบางวัน วันไหนไม่มาก็ไม่จ่ายได้หรือไม่

ถาม : จะทำสัญญากับลูกจ้างรายวันโดยกำหนดว่ามาทำงานวันไหนก็จ่ายเฉพาะวันที่มาทำงานได้หรือไม่
ตอบ : สัญญาจ้างที่กำหนดทำนองว่ามาทำจะให้ค่าจ้าง แปลว่าวันที่ไม่มาก็จะไม่ได้ค่าจ้าง อยากจ้างวันไหนก็ให้มา

หากข้อตกลงเป็นดังว่าอาจขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นโมฆะเพราะลูกจ้างรายวันต้องมีงานให้ทำตลอด เว้นแต่วันหยุดประจำสัปดาห์ถึงไม่ต้องจ่าย หรือไม่นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างเพราะต้องถือว่าจ้างลูกจ้างเข้ามาแล้ว แต่นายจ้างไม่มีงานให้ทำเองนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างตอบแทน

ถาม : ข้อดีของการจ้างรายวันทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันลา หรือวันหยุดใช่หรือไม่

ตอบประเด็นที่ ๑ วันลาป่วย วันลากิจฯ วันลาเพื่อรับราชการทหาร วันลาเพื่อการทำหมัน วันลาคลอด วันลาอบรมและพัฒนาฯ นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจัดให้สิทธิแก่ลูกจ้าง และจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างรายวันตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเหมือนเช่นลูกจ้างรายเดือนทุกประการ

ตอบประเด็นที่ ๒  วันหยุดประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปีนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหยุดตามสิทธิ และต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูก โดยมีข้อสังเกตดังนี้

๑) วันหยุดประจำสัปดาห์นายจ้างไม่ต้องจ่าย
๒) วันหยุดพักผ่อนประจำปี(ที่ชอบเรียกว่าลาพักร้อน) ต้องทำงานให้ครบ ๑ ปีและย่างเข้าปีที่ ๒ ก่อนจึงจะมีสิทธิได้หยุด ๖ วัน และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างด้วย

ถาม : หลัก no work no pay ใช้ได้หรือไม่ คือไม่มาทำงานก็ไม่จ่าย
ตอบ : คำตอบคล้ายประเด็นแรก การที่นายจ้างให้ลูกจ้างมาทำงานแล้วให้หยุดไปช่วงหนึ่งตามแต่จะมีงาน แปลว่าลูกจ้างพร้อมทำแต่นายจ้างไม่มีงานให้  นายจ้างยังต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างในวันที่ให้ลูกจ้างหยุดนั้น ๆ เว้นแต่จะเข้าข้อกฎหมายประการอื่นที่อาจเป็นได้ เช่น การหยุดกิจการชั่วคราว หรือรัฐสั่งให้ปิดกิจการเพราะโรคระบาด เป็นต้น เช่นนี้ ก็ต้องพิจารณาตามข้อกฎหมายที่เป็นข้อยกเว้นแต่ละกรณีไป

ถาม : ทดลองงานลูกจ้างรายวันได้หรือไม่
ตอบ : ลูกจ้างรายวันทดลองงานได้หรือไม่ ต้องเข้าใจก่อนว่ากฎหมายแรงงานมีลูกจ้างอยู่ประเภทเดียวตามคำนิยามของกฎหมายคือ “ลูกจ้าง” กฎหมายคุ้มครองสิทธิของลูกจ้าง ดังนั้นไม่ว่าจะไปเรียกชื่ออะไรก็เป็นลูกจ้าง

เมื่อเป็นลูกจ้าง อะไรที่กฎหมายกำหนดให้การคุ้มครองเอาไว้ก็ได้สิทธิทุกประการ
แล้วการทดลองงานคืออะไร การทดลองงานอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีการเขียนไว้ในข้อสัญญา โดยข้อสัญญาดังกล่าวจะขัดกับสิ่งที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดคุ้มครองลูกจ้างเอาไว้ไม่ได้

“เหตุผลของการไม่ผ่านการทดลองงาน” ของลูกจ้างรายวัน ที่อ้างได้คือ
๑) ไม่มีความสามารถในการทำงาน ตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น
๒) พฤติกรรมส่วนตัว การเข้ากับเพื่อนร่วมงาน ทัศนคติมีมาตรฐานต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

คำว่า “มาตรฐาน” นายจ้างจะมีเครื่องมือ หรือแบบประเมินซึ่งสร้างขึ้นมาและใช้เป็นการทั่วไปไม่ได้เจาะจงเป็นการเฉพาะกับลูกจ้างคนใดคนหนึ่ง
เมื่อทดลองงานลูกจ้างรายวันแล้วไม่ผ่านการทดลองงานก็จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ รอบการจ่ายค่าจ้างด้วย
ข้อสังเกต จริงๆ ไม่ต้องทดลองงานก็ได้ หากทำงานช่วงแรกสัก ๒ เดือน หรือ ๓ เดือน หรือทำงาน ๑ ปี ทำงาน ๑๐ ปี ทำงาน ๒๐ ปี ก็มีหลักการเดียวกัน คือ ถ้าหย่อนสมรรถภาพในการทำงานก็เลิกจ้างได้

เพียงแต่เมื่อทำงานเกิน ๑๒๐ วันก็จะต้องจ่ายค่าชดเชย

 

 

Facebook : กฎหมายแรงงาน

ก.แรงงาน ระดมภาคีเครือข่ายพิจารณาร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการมุ่งขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายหมดจากสังคมไทย

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 01 เมษายน 2564
ฮิต: 126

นายจ้างมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการผ่านงาน

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 02 เมษายน 2564
ฮิต: 136

นายจ้างมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการผ่านงาน

แม้จะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างรายวัน
นายจ้างก็มีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการผ่านงาน ถ้าไม่ออกลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานใด้

โดยหนังสือรับรองการผ่านงานต้องมีข้อความตาม ปพพ. ม. 585 กำหนด ซึ่งต้องมีข้อความดังนี้

1) ทำงานมานานเท่าไร (เข้าทำงานวันใหน และออกจากงานวันใหนต้องระบุวันลงไปให้ชัด)
2) งานที่ทำมีลักษณะอย่างไร โดยระบุว่าเป็นงานอะไร รวมถึงการระบุตำแหน่งงานลงไปด้วย
3) ข้อควรระวัง ศาลฎีกาเคยตัดสินว่านายจ้างไม่มีสิทธิระบุว่าเลิกจ้างลูกจ้างเพราะอะไร ด้วยวิธีใดและเพราะเหตุใด (ฎ. 3502/2543)
4) ปัญหาต่อไป นายจ้างต้องออกหนังสือวันใหน นายจ้างมีหน้าที่ออกหนังสือในวันที่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง กล่าวคือ ออกจากงานวันใหน ต้องออกหนังสือรับรองทันที (ฎ. 6020/2545)

 

 

Facebook : กฎหมายแรงงาน

 

 

ลูกจ้างลาออกหรือถูกเลิกจ้าง เป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะได้ใบผ่านงาน

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 01 เมษายน 2564
ฮิต: 152

เมื่อสัญญาจ้างระงับลง เช่น ลูกจ้างลาออกหรือถูกเลิกจ้าง เป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะได้ใบผ่านงานจากนายจ้าง ตาม ป.พ.พ.ม. 585
เมื่อเป็นสิทธิ ลูกจ้างจึงต้องร้องขอหรือทวงถาม นายจ้างจึงมีหน้าที่ออกให้

ถ้าไม่ออกให้ภายในเวลาอันควร ลูกจ้างก็อาจไปฟ้องนายจ้างให้ออกใบผ่านงานได้
และอาจฟ้องค่าเสียหายจากการไม่ออกใบผ่านงานได้ หากเกิดความเสียหายจากการไม่ออกใบผ่านงาน


ศาลแรงงานเคยตัดสินให้นายจ้างออกใบผ่านงานให้ลูกจ้าง แต่ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้ให้ลูกจ้าง
เพราะลูกจ้างไม่ได้ร้องขอให้นายจ้างออกให้ก่อนที่จะฟ้อง และไม่ปรากฎว่าเกิดความเสียกับลูกจ้าง

คำพิพากษาศอ.คดีชำนัญพิเศษที่ 593/2563

 

Facebook : Narongrit Wannaso

  • ก่อนหน้า
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10
  • ต่อไป
2144368
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
581
2352
11715
2112619
42096
113239
2144368

Your IP: 192.168.2.69
2021-04-16 06:10
Visitors Counter