สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติ
    • ตราสัญลักษณ์
    • โครงสร้างองค์กร
    • บุคลากร
  • E-Service
  • ดาวน์โหลด
  • ติดต่อเรา

Main menu

Main Menu

  • หน้าหลัก
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง
  • แผนงาน โครงการ
  • ข้อมูลวิชาการ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

MOL Menu

  • กระทรวงแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์

แรงงาน เตือนลดเสี่ยงเพลิงไหม้ ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนหยุดยาว พร้อมย้ำดูแลตัวเอง ลดเสี่ยงโควิด-19
แรงงาน เตือนลดเสี่ยงเพลิงไหม้ ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนหยุดยาว พร้อมย้ำดูแลตัวเอง ลดเสี่ยงโควิด-19

Read more

ให้ลูกจ้างรายวันมาทำงานบางวัน วันไหนไม่มาก็ไม่จ่ายได้หรือไม่ ?
ให้ลูกจ้างรายวันมาทำงานบางวัน วันไหนไม่มาก็ไม่จ่ายได้หรือไม่ ?

Read more

นายจ้างมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการผ่านงาน
นายจ้างมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการผ่านงาน

Read more

ก.แรงงาน ระดมภาคีเครือข่ายพิจารณาร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการมุ่งขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายหมดจากสังคมไทย
ก.แรงงาน ระดมภาคีเครือข่ายพิจารณาร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการมุ่งขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายหมดจากสังคมไทย

Read more

ลูกจ้างลาออกหรือถูกเลิกจ้าง เป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะได้ใบผ่านงาน
ลูกจ้างลาออกหรือถูกเลิกจ้าง เป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะได้ใบผ่านงาน

Read more

ก.แรงงาน จับมือ 12 องค์กร ลงนาม MOU มุ่งมั่นแก้ปัญหาแรงงานเด็กและแรงงานบังคับ
ก.แรงงาน จับมือ 12 องค์กร ลงนาม MOU มุ่งมั่นแก้ปัญหาแรงงานเด็กและแรงงานบังคับ

Read more

ยื่นแบบแสดงสภาพการจ้าง แจ้งครอบครองสารเคมีอันตราย และผลการดำเนินงานของ จป. คลิกที่นี่ !!
ยื่นแบบแสดงสภาพการจ้าง แจ้งครอบครองสารเคมีอันตราย และผลการดำเนินงานของ จป. คลิกที่นี่ !!

Read more

การจ้างแรงงานโดยตกลงจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน
การจ้างแรงงานโดยตกลงจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน

Read more

ทำงานล่วงเวลาต้องคูณด้วย 1.5 เท่า
ทำงานล่วงเวลาต้องคูณด้วย 1.5 เท่า

Read more

ก. แรงงาน เปิดตัว “แรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง”
ก. แรงงาน เปิดตัว “แรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง”

Read more

ลดค่าจ้าง เปลี่ยนตำแหน่ง ต้องคัดค้าน
ลดค่าจ้าง เปลี่ยนตำแหน่ง ต้องคัดค้าน

Read more

จบในแผ่นเดียว ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง
จบในแผ่นเดียว ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง

Read more

นายจ้างมีความจำเป็นที่จะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาเพื่อเร่งผลิตสินค้า หากลูกจ้างไม่มาทำงานจะถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างหรือไม่ ?

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 10 กุมภาพันธ์ 2564
ฮิต: 270

ในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์  อาจมีสินค้าบางชนิดที่ลูกค้ามีความต้องการเพิ่มมากกว่าปกติ นายจ้างจึงมีความจำเป็นที่จะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาเพื่อเร่งผลิตสินค้านั้น

กรณีเช่นนี้ นายจ้างจะนำเหตุดังกล่าวให้ลูกจ้างมาทำงานล่วงเวลา หรือจะอ้างความยินยอมของลูกจ้างในใบสมัครงานหรือที่ระบุในสัญญาจ้างซึ่งลูกจ้างลงลายมือชื่อไว้แล้ว โดยมีคำสั่งให้ลูกจ้างมาทำงานล่วงเวลา และไม่ได้ให้ลูกจ้างยินยอมอีกครั้งนั้น จะทำได้ หรือไม่

และหากลูกจ้างไม่มาทำงานจะถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง ?

คำตอบ : ไม่ได้ เพราะในเรื่องการทำงานล่วงเวลาได้มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะใน พรบ. คุ้มครองแรงงานฯ  ฉะนั้น นายจ้างจะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่ เพียงใด ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย ฉบับนี้

คู่กรณีจะทำสัญญาให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหาได้ไม่ นายจ้างไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานนอกจากจะเข้าข้อยกเว้น ตาม ม.24 ว 1 ที่ว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป หรือเข้าข้อยกเว้นเมื่อมีเหตุจำเป็น ตาม ม.24 ว2


กรณีตาม ม.24 ว1 นั้น หมายความว่า เมื่อนายจ้างประสงค์จะให้มีการทำงานล่วงเวลาในช่วงระยะเวลาใด นายจ้างจะต้องทำความตกลงกับลูกจ้างโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย ให้มีสาระสำคัญครบถ้วนถึงกำหนดช่วงระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาไว่ก่อนล่วงหน้า หลังจากนั้น หากนายจ้างจะออกคำสั่งในเรื่องการทำงานล่วงเวลาอีกก็ต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว ถ้าคำสั่งไม่สอดคล้องกับข้อตกลง ต้องถือว่าเป็นคำสั่งให้ทำงานล่วงเวลาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องปฎิบัติตามก็ได้

ดังนั้นการที่นายจ้างได้รับคำสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติในช่วงเทศกาลต่างๆ  ไม่ถือว่าเป็นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าจะหยุดจะเสียหายแก่งาน เพราะสามารถวางแผนในการผลิตสินค้า โดยให้ลูกจ้างทำในเวลาทำงานปกติได้ และมิใช่งานที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า อันจะถือว่าเป็นงานฉุกเฉินที่นายจ้างจะสั่งให้ลูกจ้างมาทำงานล่วงเวลาได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากูกจ้าง

ทั้งจะถือเอาความยินยอมที่ทำไว้ล่วงหน้าตามใบสมัครงานหรือในสัญญาจ้างที่ลูกจ้างลงชื่อให้ความยินยอมไว้มาผูกพันลูกจ้าง ก็มิได้เพราะเป็นความยินยอมที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติใน ม.24 ว1,2

ฉะนั้น การที่ลูกจ้างไม่มาทำงานล่วงเวลาตามคำสั่งของนายจ้าง จึงไม่ถือว่าเป็นการขัดคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง ฏีกาที่ 5888/2530,4121/2543,2885-86/2543 และ 9015/2549

 

 

FB : Narongrit Wannaso

ผลของการกำหนดข้อบังคับฯ นายจ้างจะไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างรายเดือนในวันที่ลูกจ้างนั้นขาดงาน

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 09 กุมภาพันธ์ 2564
ฮิต: 393

ผลของการกำหนดข้อบังคับฯ นายจ้างจะไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างรายเดือนในวันที่ลูกจ้างนั้นขาดงาน

ฉะนั้น เมื่อวันใดลูกจ้างขาดงาน นายจ้างก็ไม่ตัองจ่ายค่าจ้างในวันนั้น  ตามระเบียบข้อบังคับฯ และตามหลัก no work no pay

ดูฎีกาที่ 11095/2556 ด้านล่าง

การไม่จ่ายค่าจ้างในวันที่ลูกจ้างขาดงาน มิใช่เรื่องการหักค่าจ้างตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 ที่มุ่งคุ้มครองลูกจ้างให้ได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนการทำงานที่ลูกจ้างได้ทำให้นายจ้างไปแล้ว

เพราะค่าจ้างที่ได้รับย่อมนำไปใช้ในการเเลกเปลี่ยนปัจจัยในการดำรงชีวิตของลูกจ้างและครอบครัว กฎหมายจึงห้ามนายจ้างนำหนี้เงินที่ลูกจ้างอาจจะก่อขึ้นสืบเนื่องจากการจ้างหรือการทำงานมาหักจากค่าจ้างหรือค่าตอบแทนการทำงาน

เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามที่ มาตรา 76

กำหนดให้นายจ้างหักได้ และต้องหักภายในกรอบที่ มาตรา 77  กำหนดด้วย

 

FB : Narongrit Wannaso

กสร. ออกประกาศขอความร่วมมือสถานประกอบกิจการจัดให้ลูกจ้างได้หยุดงานเป็นกรณีพิเศษ

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 05 กุมภาพันธ์ 2564
ฮิต: 580

วันหยุดพักผ่อนประจำปี 1 ปี เริ่มนับแต่วันใหน ?

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 02 กุมภาพันธ์ 2564
ฮิต: 499

วันหยุดพักผ่อนประจำปี
กฎหมายบังคับให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุด 6 วัน
แต่ต้องทำงานให้ครบ 1 ปีก่อน พอเริ่มงานปีที่ 2 วันแรกมีสิทธิหยุดทันที
มีปัญหาว่า 1 ปี เริ่มนับแต่วันใหน ?
ศาลฎีกาพิพากษาว่าถ้าไม่ได้มีการตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ให้นับตั้งแต่วันที่เริ่มเข้าทำงาน
ที่มา ฎีกาที่ 30/2524

FB : กฎหมายแรงงาน

 

  • ก่อนหน้า
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10
  • 11
  • ต่อไป
2144350
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
563
2352
11697
2112619
42078
113239
2144350

Your IP: 192.168.2.69
2021-04-16 06:02
Visitors Counter