นายจ้างมีข้อตกลงกับลูกจ้างว่า ต้องยื่นใบลาออกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน
หากฝ่าฝืนลูกจ้างต้องชำระค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท ข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อกฎหมายหรือไม่ ?
⚖️ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15023/2558
แม้ข้อตกลงตามสัญญาจ้างพนักงานจะเป็นข้อตกลงที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของมาตรา 17 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกันได้และไม่ขัดต่อกฎหมาย
แต่การที่นายจ้างจะเรียกให้ลูกจ้างเสียค่าปรับจากการกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน
ซึ่งถือเป็นค่าเสียหายจากการผิดสัญญาส่วนหนึ่งนั้นจะต้องปรากฏชัดว่าการประพฤติผิดสัญญาจ้างแรงงานของลูกจ้างทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
เมื่อคดีนี้ศาลฟังข้อเท็จจริงจากคำแถลงรับของนายจ้างเองว่านายจ้างไม่ได้รับความเสียหายใดๆ จากการใช้สิทธิลาออกของลูกจ้าง ศาลจึงพิพากษาให้นายจ้างคืนเงินประกันความเสียหาย และยกฟ้อง
ระหว่างการลาคลอดบุตร มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี และวันหยุดประจำสัปดาห์หรือไม่ ?
กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดได้ 98 วัน โดยได้ค่าจ้าง 45 วัน และจากประกันสังคมอีก 45 วัน
ปกติการลา จะต้อง "ลาเฉพาะวันทำงาน" วันหยุดไม่ต้องลา เพราะไม่ลาก็มีสิทธิหยุด แต่หลักการนี้ไม่นำไปใช้ในกรณีวันลาคลอดด้วย
เพราะมาตรา 41 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ กำหนดให้นับรวมวันหยุดในระหว่างวันลาคลอดนั้นด้วย
ดังนั้น หากมีวันหยุดทั้ง 3 กรณี คือ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ระหว่างวันลาเพื่อการคลอดบุตรต้องนับรวมเข้าไปในวันลาคลอด 98 วันด้วย
ดังนั้น บริษัทนายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดระหว่างวันลาคลอด
Facebook : กฎหมายแรงงาน
ตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ ...
1. ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
2. ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
3. ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝุายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
4. เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
5. เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม
มีประเด็นสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อปรึกษาหรือร้องทุกข์ได้ที่ช่องทาง ดังต่อไปนี้
1) สายด่วน 1546
2) สายด่วน 1506 กด 3 หรือ
3) สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/กรุงเทพ ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์จากเว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน www.labour.go.th (เมนู ติดต่อกรม) เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ท่านทำงานหรืออาศัยอยู่ให้คำปรึกษาช่วยเหลือ หรือยื่นคำร้องผ่านระบบออนไลน์ ที่ https://eservice.labour.go.th