สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติ
    • ตราสัญลักษณ์
    • โครงสร้างองค์กร
    • บุคลากร
  • E-Service
  • ดาวน์โหลด
  • ติดต่อเรา

Main menu

Main Menu

  • หน้าหลัก
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง
    • ระเบียบ
    • ประกาศ
    • คำสั่ง
  • แผนงาน โครงการ
  • ข้อมูลวิชาการ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

MOL Menu

  • กระทรวงแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

การระบาดโควิด 19 ระลอกใหม่ กับค่าทดแทนการว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยโควิด 19 ตามกฎกระทรวงฉบับใหม่

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 06 มกราคม 2564
ฮิต: 656

การระบาดโควิด 19 ระลอกใหม่ กับค่าทดแทนการว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยโควิด 19 ตามกฎกระทรวงฉบับใหม่

สรุปสั้นๆ ว่า หากลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานเพราะต้องถูกกักตัว/เฝ้าระวังโรค  หรือเพราะทางการสั่งปิดสถานที่ สถานประกอบการชั่วคราวเพื่อป้องกันโรค เท่านั้น



ถ้านายจ้างปิดกิจการหรือสถานที่ชั่วคราวมาจากเหตุอื่นๆ นอกจากนี้

จะไม่เข้ากฎกระทรวงนี้ โดยในระหว่างที่ไม่ได้ทำงานหรือหยุดกิจการ ลูกจ้างจึงไม่ได้รับค่าจ้าง



ลูกจ้างมีสิทธิขอรับเงินทดแทนว่างงานจากประกันสังคม  50% ของค่าจ้าง ตลอดเวลาที่หยุดงาน แต่ไม่เกิน 90 วัน

โดยมีสิทธิยื่นขอย้อนไปตั้งแต่ 19 ธ.ค.2563 เป็นต้นไป

การยื่นคำขอรับเงินของลูกจ้างและ การออกหนังสือรับรองของนายจ้าง ก็ยื่นทางอีเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับกฎกระทรวงฉบับเดิม

ข้อสังเกตุ

1. กฎกระทรวงฉบับใหม่ กรณีนายจ้างหยุดกิจการเนื่องจากทางราชการสั่งปิดชั่วคราว ทำให้ลูกจ้างไม่ได้ทำงานเท่านั้น ฉะนั้น หากนายจ้างปิดกิจการเอง เพราะเหตุผลทางธุรกิจ ค้าขายไม่ดี ไม่มีลูกค้า รายได้ลดลง ขาดทุด แม้จะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมาจากโควิดระบาด ก็ไม่ทำให้ลูกจ้างมีสิทธิขอเงินทดแทนว่างงานตามกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ได้ ต่างจากกฎกระทรวงฉบับเดิมที่ลูกจ้างอาจจะมีสิทธิ

2. กฎกระทรวงใหม่ กำหนดอัตราเงินทดแทน 50% แต่กฎกระทรวงเดิม 62% ของค่าจ้าง แต่ทั้ง 2 กฎกระทรวงขอได้ไม่เกิน 90 วัน

3. ระยะเวลา ลูกจ้างที่เข้าเกณฑ์ยื่นขอย้อนหลังได้ตั้งแต่ 19 ธ.ค.2563 เป็นต้นไป โดยไม่จำกัดเวลาได้สิทธิไม่เกิน 90 วัน แต่กฎกระทรวงเดิมจำกัดเหตุในการยื่นขอรับสิทธิไว้ตั้งแต่ 1.มี.ค.ถึง 31 ส.ค.2563 เท่านั้น

 


FB : Narongrit Wannaso

ถามว่า : การประกาศวันหยุดตามประเพณีมีหลักเกณฑ์อย่างไร และเมื่อประกาศแล้วนายจ้างจะตกลงกับลูกจ้างให้หยุดวันอื่นชดเชยได้ หรือไม่ เพียงใด ?

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 30 ธันวาคม 2563
ฮิต: 273

ถามว่า : การประกาศวันหยุดตามประเพณีมีหลักเกณฑ์อย่างไร และเมื่อประกาศแล้วนายจ้างจะตกลงกับลูกจ้างให้หยุดวันอื่นชดเชยได้ หรือไม่ เพียงใด ?

คำตอบ นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน ขึ้นไปต้องประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณี ให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติและให้ ประกาศ กำหนดจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และให้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป หากตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้างตาม
ม.29 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ

ทั้งนี้ก็เพื่อให้ ลจ.ได้ทราบล่วงหน้าจะได้วางแผนในวันหยุดไปร่วมเฉลิมฉลองในวันสำคัญของชาติหรือศาสนาหรือ ขนบธรรมเนียมประเพณีอันเป็นการส่ง เสริมอนุรักษ์ประเพณีสำคัญอีกทางหนึ่งด้วย และการกำหนดวันหยุด นายจ้างไม่จำต้องตกลงกับลจ.เพราะ เป็นหน้าที่ตามกฎหมายและไม่มีรูปแบบ แม้กรรมการผู้มีอำนาจของนายจ้างที่เป็นนิติบุคคล จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในประกาศก็
ไม่เป็นโมฆะ ฎีกาที่ 1850/2544

แต่ถ้านายจ้างประกาศให้ลูกจ้างหยุดแล้ว ต่อมาจะเปลี่ยนวันหยุดเป็นวันหยุดตามประเพณีอื่นที่ยังไม่ประกาศ ไม่อาจทำได้ เว้นแต่ลูกจ้างจะยินยอมเพราะถือว่าเป็นสภาพการจ้างตามกฎหมายแล้ว
เมื่อนายจ้างประกาศวันหยุดแล้วอาจตกลง กับลูกจ้างให้หยุดวันอื่นชดเชยหรือให้ลจ.ทำงานแต่จ่ายค่าทำงานในวันหยุดได้ หากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 ออกตาม ม.29 แห่ง พรบ.คุ้มครอง
แรงงานฯ เช่น งานในกิจการโรงแรม ร้านอาหาร สถานพยาบาล งานขนส่ง เป็นต้น

 (หากนายจ้างประกาศวันหยุดแล้วตาม ม.25 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย หากลูกจ้างมาทำ นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างตาม ม. 56(2) ในอัตราตาม ม.62 แต่หากไม่นายจ้างมิได้จัดให้หยุดตามประกาศหรือจัดให้หยุดน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดก็ต้องจ่ายค่าทำงานฯ ตาม ม.64)

หากนายจ้างไม่ได้ประกอบกิจการหรือเป็น งานตามกฎกระทรวงดังกล่าวฯ นายจ้างจะให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุดตาม ประเพณีและให้หยุดวันอื่นทดแทน ไม่ได้ เช่น กิจการผลิตหรืองานผลิตชิ้นส่วนคอม พิวเตอร์  งานก่อสร้าง เป็นต้น

หากนายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างมาทำงานในวัน หยุดและให้ลูกจ้างไปหยุดวันอื่นชดเชย ย่อมเป็นคำสั่งไม่ชอบ เช่น ...

นายจ้างมีคำสั่งให้ลจ.มาทำงานวันที่ 7 เม.ย.ชึ่งเป็นวันหยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีวันที่ 6(วันจักรี) เพื่อไปชดเชยวันที่ 12 เม.ย.ซึ่งเป็นวันทำงาน  การที่ลูกจ้างมาทำงานวันที่ 7 เม.ย.ครึ่งวัน (ชึ่งเป็นคุณแก่นายจ้าง) และครึ่งวันหลังไม่ทำงานก็ไม่ถือว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่/เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งนจ.ที่ชอบด้วย กฎหมายและเป็นธรรมเพราะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ เทียบฎีกาที่ 4321-23/2548
อนึ่ง แม้กฎหมายมิได้กำหนดนจ.ไม่ส่ง ประกาศวันหยุดตามประเพณีให้พนักงานตรวจแรงงานก็ตาม แต่หากลูกจ้างหรือ สหภาพแรงงานเห็นว่า นจ.ประกาศวันหยุดไม่ชอบ จึงร้องเรียนให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบหรือพนักงานตรวจแรงงานไปตรวจพบเองและ
เห็นว่า นายจ้างประกาศฯไม่ชอบ  

เช่น นายจ้างประกาศน้อยกว่า 13 วัน หรือประกาศโดยไม่กำหนดจากวันหยุดราชการฯ ตาม ม.29 ว 2 เป็นต้น

พนักงานตรวจแรงงานก็มีอำนาจสั่งให้ นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตาม ม. 139(3) แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯได้

ว่าแต่ปี 2564 ท่านหรือนายจ้างของท่านประกาศวัน หยุดตามประเพณีปี 2564 หรือยังครับ ?

 

FB : Narongrit Wannaso

ประกาศ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แนวทางในการเฝ้าระวัง การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid -19) ในสถานประกอบกิจการ

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 25 ธันวาคม 2563
ฮิต: 778

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องแนวทางในการเฝ้าระวัง การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid -19) ในสถานประกอบกิจการ และแนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)ในสถานประกอบกิจการ สรพ. 6 จึงขอประชาสัมพันธ์เพื่อให้นายจ้าง สถานประกอบกิจการ ลูกจ้าง ใช้เป็นแนวปฏิบัติในการหยุดยั้ง ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว

 

กสร. ออกประกาศขอความร่วมมือนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในช่วงเทศกาลวันปีใหม่

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 28 ธันวาคม 2563
ฮิต: 367

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน มอบของขวัญปีใหม่ 2564 เพื่อผู้ประกันตน

Writen by Area3
Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
on 24 ธันวาคม 2563
ฮิต: 1424

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน มอบของขวัญปีใหม่ 2564 เพื่อผู้ประกันตน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ว่าที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2564 แก่ผู้ประกันตนในระบบกองทุนประกันสังคม มาตรา 33 และมาตรา 39 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้

ปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร ให้กับผู้ประกันตนที่มีบุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี ให้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มจาก 600 บาท เป็น 800 บาทต่อคน โดยจ่ายคราวละไม่เกิน 3 คน ในการนี้มีผู้ประกันตนได้รับประโยชน์จำนวน 1.362 ล้านคน คิดเป็นเงิน 13,739 ล้านบาท/ปี ใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจากเดิม 3,432 ล้านบาท ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกันตนที่มีบุตรโดยจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป สำหรับระยะการจ่ายเงินกรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรที่ปรับเพิ่มของงวดเดือนมกราคม 2564 ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็นต้นไป

ปรับลดเงินสมทบฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เหลือร้อยละ 3 และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ลดลงเหลือ 278 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม 2564) เพื่อช่วยเหลือนายจ้าง และผู้ประกันตนที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วย แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้าง และผู้ประกันตน ในการจ่ายเงินสมทบรวมเป็นเงินจำนวน 15,660 ล้านบาท
          
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจาการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยสาระของร่างดังกล่าว กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย และหน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการระบาด ของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ เป็นผลกระทบให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น โดยให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างดังกล่าว มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ สั่งปิดพื้นที่ ทั้งนี้ ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทินมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 90 วัน ดังนั้น หากร่างกฎกระทรวงฯ มีผลใช้บังคับจะทำให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ จากการที่หน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตราย คาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิ จำนวน 700,727 ครั้ง ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย คิดรวมเป็นเงินกว่า 5,225 ล้านบาท

ปรับเพิ่มค่าคลอดบุตรเป็น 15,000 บาท (เดิม 13,000 บาท) ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน พ.ศ.2563 ซึ่งในปี 2564 คาดว่า มีผู้ประกันตนที่ได้รับประโยชน์ทดแทนจากกรณีคลอดบุตร 293,073 คน/ปี คิดเป็นเงิน 4,396 ล้านบาท สำนักงานประกันสังคม จ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้น 586.146 ล้านบาท ปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์ เป็น 5 ครั้ง รวมเป็น 1,500 บาท (เดิม 3 ครั้ง 1,000 บาท) คาดว่าจะมีผู้ประกันตนได้รับสิทธิประมาณ 122,114 ครั้ง/ปี เป็นเงิน 36.6 ล้านบาท สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้น 17.89 ล้านบาท ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวเพิ่มในตอนท้ายว่า ซึ่งการมอบของขวัญปีใหม่ 2564 ในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติรวมไปถึงนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงแรงงาน โดยเฉพาะด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เพื่อให้ครอบคลุมการดูแลบริการและสิทธิประโยชน์ของวัยแรงงานทุกกลุ่มทุกวัย อีกด้วย
--------------------------------
ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

 

 

 

  • ก่อนหน้า
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10
  • ต่อไป
2011338
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
2398
3945
24752
1960953
22305
110104
2011338

Your IP: 192.168.2.69
2021-03-06 19:00
Visitors Counter