สรุปมาให้ ...
ออกจากงานมาแล้ว แต่นายจ้างยังไม่จ่ายเงิน เขาต้องจ่ายภายในกี่วัน หากไม่จ่ายจะทำไงดี ?
เมื่อออกจากงาน "ไม่ว่าจะลาออกเอง หรือเลิกจ้าง" นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินที่ค้างจ่ายซึ่งนายจ้าง "ต้องจ่าย" ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด
ในกรณีเลิกจ้าง ซึ่งลูกจ้างไม่มีความผิด หรือเลิกจ้างเพราะนำเทคโนโลยี หรือเครื่องจักรมาแทนคน หรือย้ายสถานประกอบการซึ่งกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างและครอบครัวและลูกจ้างไม่ย้ายไปด้วย ก็จะต้องจ่าย "ค่าชดเชย"
ว่าด้วยกรณีต้องจ่ายมาแล้ว กรณีต่อไป "ต้องคืน" หลักประกันในการทำงาน
ปัญหาว่าต้องคืนภายในกี่วัน (ดูภาพประกอบ)
1) กลุ่มแรก "จ่ายวันเลิกจ้าง
เมื่อออกจากงานแล้วจะต้อง "จ่าย" ในวันที่เลิกจ้าง ได้แก่ ค่าชดเชย
2) กลุ่มที่สอง จ่ายภายใน 3 วันนับแต่วันที่เลิกจ้าง(ไม่รวมลาออก ซึ่งต้องรอกำหนดจ่าย เช่น ออกกลางเดือน หากเขาจ่ายเงินเดือนกันปลายเดือนก็ต้องรอให้ถึงกำหนดก่อน)
ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าทำงานในวันหยุด
3) กลุ่มที่สาม ต้องจ่ายและคืนภายใน 7 วัน
ได้แก่การจ่ายค่าชดเชยกรณีย้ายสถานประกอบการ และการคืนหลักประกัน
หากไม่คืนลูกจ้างก็เลือกได้ว่าจะ
ก) ร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือ ข) ฟ้องศาล
หากฟังได้ว่านายจ้างไม่คืนให้ดูว่า "จงใจหรือไม่" กล่าวคือ
1) ถ้าไม่จงใจ รับผิดเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี
2) ถ้าจงใจ โดยปราศจากเหตุอันสมควร ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 15 ทุกๆ ระยะเวลา 7 วัน (หรือร้อยละ 15 ทุกๆ 7 วัน) นอกจากนั้นยังต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีอีกด้วย
Facebook : กฎหมายแรงงาน